ปุ๋ยแพง! ชี้ทางออกบอกทางรอด

เรามาถึงจุดนี้ได้ยังไง? 

ปุ๋ยเคมีสอบละ 1,400 บาท

พี่น้อง เกษตรกร ที่เคารพทุกท่าน

    ปัจจุบัน ราคาปุ๋ย ยา น้ำมันแพงขึ้นมากๆ ในขณะที่ราคาข้าว พืชผล ตกต่ำ เราไม่สามารถกำหนดราคาขายได้ ทำให้เกิดสภาวะขาดทุน หลายคนต้องกู้ ยอมเป็นหนี้ ทั้งในและ นอกระบบ นานๆ เข้าหนี้สะสมจนต้องขายนาใช้หนี้ เฮ้อ!!!…

    ดังนั้นเราต้องควบคุมต้นทุนในการทำนาทำไร่ ปัจจัยหลักที่จำเป็นต้องซื้อ คือ ปุ๋ย ยา จะดีกว่ามั้ยถ้าเรามีทางเลือก เช่น ทำปุ๋ยเอง ทำฮอโมนเอง เพื่อประหยัดต้นทุน การทำปุ๋ยหมักเอง ก็ต้องซื้อ ขี้วัว ขี้ไก่ มาหมักฟางรวมทั้งต้องใช้จำนวนมาก ต้องมีพื้นที่เก็บใช้แรงงาน และใช้เวลา ล้วนต้องลงทุนทั้งนั้น เฮ้อ!!

  จะดีมั้ยถ้าเรานำฟาง ตอซังมาทำปุ๋ยหมักตามธรรมชาติได้….  

 ตอซังและฟางข้าว  ???

คือสิ่งที่มีประโยชน์มาก อย่าเผาทำลายเด็ดขาด

สามารถนำมาทำปุ๋ยยูเรียได้

        ดินที่ดีตามหลักปฐพีวิทยาต้องมีลักษณะดังนี้ครับ  เมื่อคิดส่วนประกอบของดินทั้งหมดเป็น 100 เปอร์เซ็นต์  ดินนั้นควรมีเนื้อดินที่เป็นอนินทรียวัตถุ mineral matter เป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยของแร่และหินต่างๆที่สลายตัวตามธรรมชาติ ควรมี 45 เปอร์เซ็นต์  ส่วนที่สองคืออินทรียวัตถุ organic matter เป็นส่วนที่เกิดจากการเน่าเปื่อยของซากพืชและสัตว์ ส่วนนี้ควรมี 5 เปอร์เซ็นต์  อีกสองส่วนที่เหลือควรมีอย่างละ 25 เปอร์เซ็นต์คืออากาศและน้ำ  ในกรณีของดินนาซึ่งต้องมีน้ำขังเกือบตลอดเวลาจะมีอากาศในดินน้อย  ในส่วนนี้จึงเป็นน้ำเกือบทั้งหมดครับ  

             การเผาตอซังและฟางข้าวทิ้งไปจึงเป็นการทำลายโอกาสที่จะพัฒนาดินให้มีศักยภาพการผลิตที่ดีขึ้น  แต่ดินนาส่วนใหญ่ของบ้านเรามีอินทรียวัตถุในดินน้อยกว่า 2 เปอร์เซ็นต์ครับ  ตอซังและฟางข้าวมีธาตุอาหารเป็นส่วนประกอบดังนี้คือ ไนโตรเจน 0.65-0.70 % ฟอสฟอรัส 0.08-0.10 % โพแทสเซียม 1.40-1.60 % แคลเซียม 0.40 % แมกนีเซียม 0.20 %   หากเผาตอซังและฟางข้าวทิ้งไปเหลือเป็นขี้เถ้านั้นไนโตรเจนจะถูกทำลายไปกว่า 90 %  ฟอสฟอรัส 20 % และโพแทสเซียม 23 %  ตอซังและฟางข้าวมีเป็นจำนวนมาก  คิดคร่าวๆจากสัดส่วนของการผลิตข้าวเปลือก 1 ส่วนจะเกิดตอซังและฟางข้าว 1.5 ส่วน  ปัจจุบันประเทศไทยผลิตข้าวได้มากกว่า 30 ล้านตันข้าวเปลือก/ปี  ดังนั้นจะมีตอซังและฟางข้าวกว่า 30 ล้านตัน/ปี  คิดเป็นปริมาณไนโตรเจนเพียงตัวเดียวเป็นปุ๋ยยูเรียมากกว่า 424,000 ตัน/ปี

    ดังนั้นการเผาตอซังและฟางข้าวนอกจากจะทำให้เกิดมลพิษคือความร้อน ควัน ฝุ่นละออง  ปัญหาต่อการจราจรแล้ว  ยังเป็นการทำลายวัสดุที่ควรจะใช้ในการปรับปรุงดินที่จะสลายตัวให้ ธาตุอาหาร พืชจำนวนมหาศาลอีกด้วยครับ

ขอขอบคุณ  บทความดี โดย ผอ.โอ๋ ศูนย์วิจัยข้าวอยุธยา

แล้วเราจะหมักฟางข้าว ตอซังยังไงดีล่ะ!

พระเอกมาแล้ว!!!

สารย่อยสลายฟางข้าวเทนเดอร์” ย่อยสลายฟาง ตอซัง ย่อยเม็ดข้าวดีด ข้าวเด้ง เม็ดหญ้า และวัชพืช ให้กลายเป็นปุ๋ยอย่างดี จากธรรมชาติ

1 ลิตร ราคา 350 บาท

ฉีดพ่นได้  2.5 ไร่  หมักไว้ 10 วัน